เทคนิคการเลี้ยง ไก่พม่า หนุ่มๆ มือใหม่ควรศึกษา
เมื่อคัด ไก่พม่า ได้แล้ว สิ่งสำคัญที่จะทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการเลี้ยงก็คือ ท่านจะต้องเข้าใจธรรมชาติของไก่พม่า ที่สำคัญคือ
1. ไก่พม่า มันเปรี้ยว จะเลี้ยง จะดูแลต้องใจเย็นๆ ค่อยๆ จับ ค่อยๆ คลำ เขาจะได้ไม่ตื่นกลัว
2. การปล้ำ เลี้ยงใหม่ๆ ต้องปล้ำแต่น้อย อย่าให้เกิน 1 ยก พออายุ 11 เดือน ค่อยนำไปไล่อันกับไก่อ่อนๆ เหมือนกัน สักสองอันเพื่อฝึกยืนระยะ อย่าไล่อันนานเพราะพม่าดีๆ ตีไม่เกินสองอันแน่นอน ที่สำคัญ ไก่พม่าหนุ่ม ถ้าปล้ำเลี้ยงหนักๆ เดี๋ยวพาลไม่สู้เอาจะลำบาก เลี้ยงพม่าต้องรออายุ รอกระดูก รอกล้ามเนื้อนิดหนึ่ง...
การเลี้ยงไก่ออกชนนั้น จำเป็นต้องให้กินยาบำรุงกำลังตลอดระยะเวลาการเลี้ยง พร้อมจะออกชนในสนาม ยาบำรุงของไก่ที่ขาดไม่ได้เลยนั้น ควรเน้นยาสมุนไพรโบราณให้มากที่สุด
สมุนไพรไก่ชน มีอยู่แล้วในสมัยโบราณ เพราะบรรพบุรุษไทยเรา ได้นำเอาไก่ชนมาตีกัน ชนกันเป็นกีฬามาช้านาน ตั้งแต่ยุคสมัยเก่าก่อนยุคสมัยของสุโขทัย เมื่อไก่ชนเกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นมา จำเป็นจะต้องเอาสมุนไพรมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยนั้น สมุนไพรไก่ชนน่าสนใจ น่ารู้ และน่ารวบรวมเอามาเพื่อบรรดานักเล่นนักเลี้ยงไก่ชนทั้งหลาย จะได้เข้าใจและรู้จักมากขึ้นเอาไปใช้ประโยชน์ได้ดี ได้ผล เพื่อเป็นการใช้กันอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามวิธีการที่สืบทอดต่อเนื่องกัน เช่นกันกับสูตรบำรุงไก่ชนที่จะแนะนำ ซึ่งเป็นสูตรที่ทำให้ไก่ชนมีความแข็งแรงเพราะมีสมุนไพรที่มีประโยชน์นานาชนิด
ส่วนผสม
1.บอระเพ็ด 5 ชิ้น
2.ไพล 3 ชิ้น
3.ตะไคร้ 3 ชิ้น
4.กระชาย 3 ชิ้น
5.กระเทียม 3 กลีบ
6.หัวหอม 1 หัว
วิธีทำ
นำสมุนไพรทั้ง 6 ชนิดมาทำการสับเป็นชิ้นเล็กๆ (สมุนไพรทั้ง 6 ชนิดต้องใช้แบบสดๆ) เมื่อทำการสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้ว จากนั้นนำสมุนไพรทั้ง 6 ชนิดมาแช่น้ำผึ้งเอาไว้ ก็สามารถนำมาป้อนให้ไก่กินได้เลย
การใช้
นำสูตรบำรุงไก่ชน มาป้อนให้ไก่กินวันละ 1 มื้อ จะช่วยให้ไก่เจริญอาหาร ย่อยอาหารได้ดี ร่างกายแข็งแรง ระบายท้องได้ดี
วันนี้ผมในฐานะคนเลี้ยงไก่ออกชนสนามจริง แต่ประสบการณ์ก็ยังไม่มาก อยากจะมาเสนอแนวทาง การคัดเลือกไก่ 1 ตัวเพื่อจะออกชน ตลอดจนถึงเลี้ยงออกชนจริงๆ ให้มือใหม่ไก่ชนเอาไว้ศึกษานะครับ
เลือกไก่หนุ่มมาทำเนื้อทำตัว ผมมีเกณฑ์การเลือกดังนี้ เลือกไก่อายุตั้งแต่10 เดือนขึ้นไป ขนปีก ขนหาง ต้องเต็มสมบรูณ์ เดือยต้องแหลม และแข็ง ไก่ต้องสมบรูณ์ คึกคัก หลังจากได้ ไก่หนุ่ม มาแล้ว ก็นำไก่หนุ่มไปกาดน้ำตากแดด ไก่หนุ่มผมจะกาดน้ำตอน 9-10 โมง เพราะแดดกำลังอ่อน ถ้าตอนเที่ยง แดดร้อนเกินไป ระหว่างกาดแดดต้องดูไก่ ให้ดีๆ ไก่ใหม่ๆ ตอนแรกต้องเอาแค่หอบนิดๆ ก่อน
ถ้าเอาจนหอบมากไปอาจจะทำให้ระบบหายใจเสีย ปอดเสียได้ ผมจะกากน้ำตากแดดทุกวันติดๆ กัน 7 วัน ใน...
แนวทางเลือกหาสายพันธุ์ไก่ไซง่อนมาผสมกับพม่า ว่าเราจะเลือกแบบไหนดี ที่จะเข้าสายเลือดกับไก่พม่าที่เรามีอยู่ มีหลายคนอาจจะทำแค่ 1 ปี สำเร็จผล แต่ก็มีหลายๆคนทำเป็นสิบๆ ปี แต่ก็ไม่ได้ดั่งใจ
• ลีลา สำหรับสายพันธุ์ไซง่อนที่เราเลือกมานั้น จะต้องสอดคล้องกับไก่พม่า หลายท่านมี ไก่ไซง่อนเชิงไทย เมื่อนำมาพัฒนาแล้ว ปรากฏว่ามันมีลีลาที่ไม่สวยงาม ดังนั้น ข้อกำหนดในการเลือกสายพันธุ์ไก่ไซง่อน ที่จะนำมาผสม ก็คือ ต้องเลือกไก่ไซง่อนที่ตีแล้วถอด เป็นอันดับแรก จะเป็นง่อนที่พัฒนากับพม่าได้ง่ายที่สุด รองลงมาคือเชิงเบียด หน้ากระเพาะ และไซง่อนหัวสูง ตามลำดับ ดังนั้นการคัดเลือกง่อนท่านก็ต้องมีความละเอียดรอบครอบ
• แผลการตี ถ้านำไก่ไซง่อนที่ตีแผลไม่นิ่ง ถ้าผสมกันแล้วมีโอกาสลดความแม่นยำลงไปมาก สำหรับ ไก่ไซง่อนที่ดี สามารถนำมาผสมกับไก่พม่านั้น ต้องตีแผลหูตา เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือง่อนตีหน้าคอ และสามเหลี่ยม...
การคัดไก่รุ่นเพื่อนำมาเลี้ยงเป็นไก่ชน
ก่อนที่ท่านจะทำ การเลี้ยงดูลูกไก่ไซง่อน100 ให้เป็นไก่ที่พร้อมชน ท่านควรทำการคัดเลือกเสียก่อน ซึ่งวิธีการคัดก็จะดูองค์ประกอบโดยรวมของไก่รุ่นที่มีอายุอยู่ในช่วง 3-7 เดือน ตัวนั้นๆ
ลักษณะที่เหมาะสมในการนำมาเลี้ยงเป็น ไก่ชน ก็ควรจะมี ขนดกลื่นเป็นมัน ขนงอกเร็วและ ค่อนข้างจะโตเร็ว หน้าตาสดใส ตาโต หงอนและเหนียงโตงามสีแดงสดมีเงามันให้เห็นเด่นชัด
ลักษณะโดยรวมดูแข็งแรงว่องไว มีความปราดเปรียว การเคลื่อนไหวดูมั่นคงเป็นปกติ สมส่วนตรงตามลักษณะพันธุ์ แบบนี้ให้ท่านคัดเอามาเลี้ยงเป็นไก่ชนได้เลย
การเลี้ยงลูกไก่ไซง่อน 100 ที่มีอายุอยู่ ในช่วง 3 - 7 เดือน ให้แข็งแรงและพร้อมที่จะพัฒนาไปเป็นไก่ชนที่เก่งต่อไปนั้น สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อนเลยก็คือ ธรรมชาติของไก่ที่อยู่ในช่วงอายุนี้ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงวัยรุ่นนั่นเอง ก็คล้ายๆ กับคนที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นเลย คือ ไก่ไซง่อน 100 ที่กำลังเป็นไก่รุ่นนั้นจะค่อนข้างมีโลกส่วนตัว ไม่ชอบอยู่ในที่ที่แออัด ท่านจึงควรจัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสม...
จากการติดตามกระแสไก่ชนมาระยะหนึ่ง พอมองเห็นพัฒนาการไก่ชนช่วงนี้ว่าสายไหนมาแรงสาย ไหนถดถอยตกต่ำ เท่าที่สังเกตจากสนามต่างๆ พบว่า
1. ในระดับชาวบ้าน เช่น สนามชมรม สนามวิ่ง ลานบ้าน พบว่า ชาวบ้านทั่วไปนิยมพม่าลูกผสม และพม่าร้อยเพิ่มมากขึ้น รอยเล็กเป็นที่นิยมมากคือ 2.5-2.9 กก. รอยขนาดนี้สามารถเบียดไก่รอยใหญ่กระจุยในทุกสนาม แต่เลี้ยงรอยใหญ่ก็ยังมีชนนะ เพียงแต่จำนวนลดลงตามกระแสที่คนชอบเล่นพม่ามากขึ้นนั่นเอง เดี๋ยวนี้ไปไหนมีแต่พม่า ส่วนมากร้อยละ 80 เป็นพม่าตกรถ พม่าตัดอ้อย บางส่วนอัพเกรดมาเป็นพม่าโรงงาน คือ มีระดับดีขึ้น มีเหล่ามีกอ แต่ยังขาดลีลาความพริ้วหวานในเชิงชน
2. ในระดับนักเล่นตามสนามใหญ่ พบว่า มีความนิยมไก่สองสายหลักคือ พม่าลูกผสมกับป่าก๋อยลูก ผสม ถือว่ามีการชนกันจำนวนมากขึ้น ส่วนพม่าร้อยๆ ก็มีน้อย เพราะโดยส่วนมากที่พบเห็นเป็นพม่าแข็งแรงยืนเดินดี...
ฝึกออกกำลังกายไก่ชนด้วยวงล้อวิ่งไก่ ทำอย่างไร แล้วไก่พม่ารำวงตัวเก่งได้ประโยชน์อะไรบ้าง
วิ่งวงล้อไก่อีกหนึ่งวิธีออกกำลังไก่ที่กำลังนิยม เซียนไก่ชน คงรู้จักวิธีการออกกำลังกายไก่อยู่มากมายหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น วิ่งทางตรง วิ่งสุ่ม ล่อเป้า โยนเบาะ บินหลุม ซึ่งก็เป็นการออกกำลังกายที่ทำให้ไก่ได้บริหารกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ที่เหมาะต่อการออกอาวุธ ก็เหมือนนักกีฬาออกกำลังทั่วไป แต่ก็มีอีกหนึ่งวิธีที่สามารถออกกำลังกายส่วนขาของไก่ได้เต็มๆเหมือนกับการวิ่งทางตรง แต่ใช้พื้นที่น้อยกว่า และไม่ต้องใช้ไก่ล่อ จึงเหมาะมากมากสำหรับไก่ที่ล่อยากๆ
อย่างไก่พม่ารำวงที่ไม่ค่อยเข้าหาไก่ล่อก่อน
วิธีที่ว่าคือการฝึกออกกำลังกายไก่ชนด้วยวงล้อวิ่งไก่ แต่ก็จำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำคัญคือวงล้อวิ่งไก่หน้าตาของวงล้อวิ่งไก่ไก่พม่ารำวงและราคา
วงล้อวิ่งไก่ ว่าไปแล้วก็คล้ายๆ กับวงล้อวิ่งหนู แต่จะมีขนาดใหญ่กว่ามาก โดยมีฐานทำจากเหล็กและมีโครงยึดฐานต่อเชื่อมจนถึงแกนกลางซึ่งหมุนได้ จากแกนกลางมีลู่วิ่งที่ใช้โครงเหล็กทำเป็นวงล้อกลมๆ ส่วนพื้นลู่วิ่งอาจใช้พรมไก่ หรือฟูก หรือวัสดุที่ไม่หนักมากมารอง และจะมีตาข่ายซึ่งปิดโครงเหล็กที่ทำเป็นลู่วิ่ง เพื่อกันไก่ตกจากลู่ ส่วนเรื่องราคาอยู่ที่ประมาณ 2,500 - 3,000 บาท หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ไก่ หรือสั่งซื้อออนไลน์
วิธีการฝึกออกกำลังกายไก่ชนด้วยวงล้อวิ่งไก่
การฝึกออกกำลังกายไก่ชนด้วยวงล้อวิ่งไก่มีวิธีการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพียงแค่นำ ไก่พม่ารำวง หรือพันธุ์ใดก็ตามที่เป็นไก่ฝึกมาใส่ในวงล้อ...
เมื่อลูกไก่ออกจากไข่สามารถเดินได้แล้ว ลูกไก่อยู่ในช่วงอายุ 1-7 วัน ช่วงนี้ลูกไก่ยังอ่อนแอ และเป็นช่วงที่อันตรายมาก
การเลี้ยงลูกไก่อายุ 1-7 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่อันตรายไม่ควรให้แม่ไก่นำลูกออกมาเดินคุ้ยเขี่ยอาหาร ต้องกักขังแม่ไก่เอาไว้ แยกลูกไก่เอาไว้ในคอกอนุบาล ลูกไก่ที่แยกออกมานี้ต้องเลี้ยงและเอาใจใส่เป็นพิเศษ ให้ความอบอุ่นแก่ ลูกไก่ ด้วยการกก ทำได้หลายวิธี วิธีง่ายๆ คือ นำสุ่มมาครอบลูกไก่เอาไว้ เอาผ้าคุลมบนสุ่มและรอบๆ สุ่มเอาไว้ กลางคืนจุดตะเกียงน้ำมันก๊าดวางไว้ใกล้ๆ หรือจะใช้หลอดไฟขนาด 60-100 แรงเทียน ห้อยเอาไว้เหนือสุ่ม หรือใช้โคมไฟอ่านหนังสือตั้งไว้ข้างนอก เปิดไฟส่องไปในสุ่มไก่ให้ถูกตัวลูกไก่
อุณหภูมิเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าอุณหภูมิปกติ พอเหมาะ ลูกไก่จะกระจายวิ่งเล่น กินน้ำกินอาหาร ภายในสุ่มต้องปูพื้นด้วยแกลบ ขี้เลื่อย ฟางสับ ปูให้หนาประมาณ 5...
แม่ไก่ที่อยู่ในระหว่างการฟักไข่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลเป็นอย่างดี
แม่ไก่บางตัวตั้งใจฟักไข่ ไม่ค่อยลงมาหาอาหารกินทำให้ร่างกายซูบผอม จะต้องวางอาหารและน้ำเอาไว้ใกล้ๆกับรังฟัก ควรดูแลไข่และลูกไก่ให้ใกล้ชิดอีกด้วย ควรปฏิบัติดังนี้
1.ขณะที่ แม่ไก่ กำลังไข่ ไม่ควรที่จะให้วัคซีนหรือยาใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าจะให้ควรให้ก่อนแม่ไก่จะไข่ ถ้าให้ในระหว่างแม่ไก่กำลังไข่ อาจจะทำให้หยุดไข่ได้
2.ถ้าแม่ไก่ออกไข่มากจนเกินไป ควรแบ่งไข่ออกไปกินบ้าง ถ้ามากเกินไปอัตราการฟักออกเป็นตัวจะน้อยมาก แม่ไก่หนึ่งตัวควรฟักไข่ไม่เกิน 12 ฟอง
3.ควรจะต้องหมั่นส่องไข่ เพื่อให้แม่ไก่ฟักเฉพาะไข่ที่มีเชื้อ ถ้าไม่มีเชื้อก็คัดออกมา ถ้าให้ฟักไปไข่ก็เสียเปล่าๆ
4.เมื่อฟักออกเป็นตัวแล้วควรแยกลูกไก่ไปเลี้ยงในคอกอนุบาล ปล่อยให้แม่ไก่ได้ฟื้นตัวเร็วๆ จะได้ไข่ใหม่เร็วๆเพราะแม่ไก่ไม่ต้องคอยเลี้ยงดูลูกเล็กๆ ร่างกายไม่โทรม ได้พักฟื้นเต็มที่ ร่างกายแข็งแรงทำให้สามารถผสมพันธุ์และไข่ได้เร็ว
5.ระยะกกลูกไก่ ควรใช้หัวอาหารสำเร็จรูป แล้วค่อยๆ เติมอาหารธรรมชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงสัปดาห์ที่ 3 จึงปล่อยไก่ลงเลี้ยงแบบพื้นบ้านได้
6.ระยะกกลูกไก่ 3 สัปดาห์ ให้ผู้เลี้ยงทำวัคซีนได้ถึง 4 ครั้ง
7.ลูกไก่ ระยะกก ควรดูแลให้ความอบอุ่น...
ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองที่จะให้ได้ผลผลิตดีนั้น มีสิ่งที่จะต้องคำนึงถึง ดังนี้
โรงเรือนหรือเล้าไก่ ต้องมีโรงเรือนหรือเล้าให้ไก่นอน มีหลังคากันแดดกันฝนได้ ไม่ควรเลี้ยงไก่ไว้ใต้ถุนบ้าน เพราะนอกจากจะไม่ถูกสุขลักษณะแล้ว คนบนเรือนจะถูกไรไก่รบกวนอีกด้วย เกษตรกรสามารถทำเล้าไก่แบบง่ายๆ ได้เอง โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ แฝก จาก ฯลฯ สถานที่ตั้งของเล้าไก่ ควรให้ห่างจากตัวบ้านพอสมควรและอยู่ในที่ดอนไม่ชื้นแฉะ ไม่ควรอยู่ใกล้ต้นไม้ เพราะไก่ชอบนอนบนต้นไม้ จะไม่เข้าไปนอนในเล้า พื้นเล้าอาจจะปูด้วยแกลบหรือขี้เลื่อย หรือฟางแห้งหนาอย่าง น้อย 4 ซ.ม. และต้องเปลี่ยนวัสดุรองพื้นทุกๆ 3 เดือนให้หนาเท่าเดิมอยู่เสมอ
- เล้ากว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 2 เมตร เลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ได้...